14 ธันวาคม 2565

เซลลูโลส (Cellulose) โครงสร้างหลักที่สำคัญของผนังเซลล์พืช คืออะไร?

สารบัญเนื้อหา

เซลลูโลส (Cellulose) เป็นสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรทที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูง ซึ่งเกิดมาจากการที่น้ำตาลกลูโคสจำนวน 50,000 โมเลกุลมาเชื่อมต่อกันเป็นสายยาว โดยมีลักษณะเป็นของแข็ง ไม่มีสี กลิ่น และรสชาติ นับเป็นโครงสร้างหลักที่สำคัญของผนังเซลล์พืช เช่น ผัก ผลไม้ เมล็ดธัญพืช อีกทั้งยังมีคุณสมบัติในการเป็นเส้นใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำ และไม่สามารถย่อยได้ด้วยเอนไซม์ในระบบทางเดินอาหารของมนุษย์

แต่สำหรับในกระเพาะของวัว ควาย และม้านั้น จะมีแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่สามารถย่อยสลายเซลลูโลสให้กลายเป็นกลูโคสได้ อย่างไรก็ตาม เซลลูโลส แม้จะย่อยสลายในร่างกายมนุษย์ไม่ได้ แต่ก็สามารถช่วยกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่เกิดการเคลื่อนไหวได้ดี ส่งผลให้เมื่อมีเซลลูโลสในร่างกาย ระบบขับถ่ายก็จะทำงานได้อย่างสมบูรณ์ อุจจาระอ่อนนุ่ม ทำให้ขับถ่ายได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น จึงช่วยลดอัตราความเสี่ยงในการเกิดโรคริดสีดวงทวาร และโรคมะเร็งลำไส้ได้เป็นอย่างดี

เซลลูโลส ดีต่อทางเดินอาหาร ลำไส้และระบบขับถ่าย

แม้ว่าเซลลูโลสจะไม่ถูกย่อยสลายในร่างกายได้เหมือนสารอาหารประเภทอื่นๆ แต่ด้วยความที่มีลักษณะเป็นเส้นใยอาหาร ทำให้เซลลูโลส จึงสามารถถูกขับถ่ายออกมาในรูปของกากอาหารได้ ซึ่งถือเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายมนุษย์ เพราะช่วยในเรื่องของการขับถ่าย ทำให้ลำไส้ใหญ่ทำงานได้เป็นปกติ

โดยเซลลูโลสสามารถพบได้ในอาหารจำพวกพืช ผักประเภทต่างๆ รวมไปถึงข้าว และถั่ว ซึ่งเป็นแหล่งที่พบเซลลูโลสได้ในปริมาณสูง เหมาะสำหรับการรับประทานเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง วันละประมาณ 20-36 กรัม จะช่วยให้ร่างกายห่างไกลจากโรคต่างๆ ที่เกิดในทางเดินอาหาร ลำไส้ และระบบขับถ่ายได้เป็นอย่างดีนั่นเอง

บทความแนะนำ